หลายๆคนเคยได้ยินผู้ใหญ่บอกว่า อย่านั่งหลังค่อม ให้นั่งตัวตรง ในขณะใช้คอมพิวเตอร์ แต่รู้หรือไม่ว่า ความเชื่อเช่นนี้ กลับกลายเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังซะงั้น
ทุกวันนี้ หลายๆคนมีอาการปวดหลัง เนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และไม่พักสายตาในระหว่างใช้คอมพิวเตอร์ และไม่ลุกจากเก้าอี้ และจากความเชื่อของผู้ใหญ่ที่บอกว่า อย่านั่งหลังค่อม แต่เมื่อนั่งตัวตรง กลับกลายเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Fitnessforlife ได้นำเสนอบทความชื่อ Computer Posture: It’s Not About Sitting Up Straight! โดยระบุว่า หากคุณเป็นพนักงานออฟฟิศ พฤติกรรมที่ซ้ำๆกันในแต่ละวันของคุณคือ การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลามากกว่า 7 ชั่วโมง และหากเป็นคนออนไลน์ อาจจะนั่งใช้คอมพิวเตอร์นานกว่า 10 ชั่วโมง โดยการนั่งในระยะเวลานานแบบนี้ หลายๆนถูกสอนให้นั่งหลังตรง ไม่นั่งหลังค่อม โดยเฉพาะเพราะผู้ใหญ่มักจะสอนว่า อย่านั่งหลังค่อม เมื่อแก่ตัวไปหลังจะค่อม แต่กลับกลายเป็นว่าการนั่งหลังตรง กลับส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ และหลายๆคนก็พบว่า สาเหตุของอาการปวดหลัง เกิดจากการนั่งไม่ถูกวิธีเมื่ออยู่หน้าคอมพิวเตอร์
ลองสังเกตดูว่า สรีระของคุณ ได้รับผลกระทบจากการนั่งผิดท่าหรือไม่ โดยพิจารณาว่า คุณรู้สึกปวดเมื่อย ไม่สบายตัวขณะนั่งเป็นเวลานานหรือไม่ บางคนปวดหลังจนขี้เมื่อยต้องไปนวดร้านประจำ หรือในบางครั้งคุณอาจนั่งผิดท่าจากความหลงลืมตัวในบางขณะ
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสรีระศาสตร์ได้แนะนำว่า สาเหตุของอาการปวดหลัง อาจมีผลมาจาก ท่านั่งใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกวิธี สะสมเป็นเวลานานๆ ทั้งความสูงของเก้าอี้ โต๊ะ หรือแม้แต่การวางคีย์บอร์ด การวางหน้าจอโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
ท่านั่งที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร
การนั่งนั้น เราควรคำนึงถึง คอ หลัง และไหล่ ในการจัดท่าให้ถูกต้องเพื่อการนั่งที่สบาย การนั่งหลังตรงจนเกินไป นั่งแบบหลังตรง ตรงจริงๆก็ไม่ถูกต้อง และการนั่งเกร็งเพื่อให้หลังตรงก็ไม่ถูกต้อง เพราะจะกลายเป็นการแอ่นหลัง การนั่งจะควรนั่งแบบสบายๆ ตามธรรมชาติ ไม่นั่งเกร็ง หรือพยายามนั่งเพื่อให้หลังตรง (ตามที่ผู้ใหญ่บอก)
แต่บางครั้ง การนั่งหลังค่อม หรือหลังโกง อาจจะเป็นเพราะระดับความสูงในการวางจอมอนิเตอร์ (สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ) และระดับการเอียงหน้าจอของโน้ตบุ๊ก ลองดูภาพนี้ประกอบ บางครั้งเราเผลอก้มโค้ง โน้มตัวเข้ามาทำให้หลังงอเพราะระดับการวางหน้าจอนั่นเอง ถ้าคุณนั่งไม่ถูกต้อง บริเวณที่ปวดก็จะเป็นหัวไหล่ บ่า และคอ และอาจจะมีอาการปวดหลังด้วย
ปัญหาที่เกิดจากการนั่งใช้คอมพิวเตอร์นี้ หลายบริษัทก็มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Ergonomic Seating and Chairs เก้าอี้ที่ได้รับการออกแบบเพื่อรับกับแผ่นหลังและคอให้ถูกสุขลักษณะ แต่ราคาก็แพงเอาการ แต่นี่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ก่อนอื่นแนะนำให้สำรวจพฤติกรรมของตนเองตามนี้ก่อน
- ความสูงของเก้าอี้ เหมาะสมกับระดับที่คุณวางคีย์บอร์ด (สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ) หรือโน้ตบุ๊ก หรือไม่ และสายตาของคุณอยู่ในระดับการมองหน้าจอหรือไม่ อาจจะต้องหาวัสดุรองหน้าจอให้สูงขึ้น หรือใช้เก้าอี้แบบที่ปรับระดับความสูงได้
- การวางขาของคุณเป็นอย่างไร วางแบบเขย่ง หรือวางแบบปกติ การวางเข่าเป็นอย่างไร หรือถ้ายกเก้าอี้สูง การวางขาอาจจะต้องหาวัสดุเพื่อรองขาอีกที
- การวางแขนเป็นอย่างไร เก้าอี้บางรุ่นบางแขนได้ ลองปรับระดับเก้าอี้ให้เหมาะสมกับโต๊ะ
- การวางข้อมือเป็นอย่างไร หากใช้คีย์บอร์ด อาจจะมีหมอนหรือวัสดุยางที่รองข้อมืออีกที และควรจะวางแขนในระดับที่บ่าและหลังสบายที่สุด และการเอาหมอนอิงวางบนพนักพิงเก้าอี้ อาจจะไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณ
- การวางขา อย่าเอาขาห้อยลงไปใต้เก้าอี้
- พยายามพักสายตาจากคอมพิวเตอร์และลุกขึ้นเพื่อเปลี่ยนอิริยาบทบ้าง
นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำที่น่าสนใจ
- พยายามอย่านั่งตัวตรง (ตรงเกินไป) ควรนั่งตัวตรงแบบสบายๆ ผ่อนคลายตามธรรมชาติ
- อย่าจ้องสายตาไปที่หน้าจอตลอดเวลา พยายามพักสายตาบ้าง
- อย่ายกไหล่หรือยักไหล่ในขณะที่คลิกเม้าส์ (เชื่อว่าพฤติกรรมแบบนี้ หลายๆคนเป็น)
- และหากต้องใช้สมาธิอ่านหน้าจอนานๆ อย่าจ้องหน้าจอโดยการโน้มคอหรือก้มลงไป เพราะเป็นสาเหตุให้ปวดไหล่และบ่าได้
- บางคนอยากประหยัดไฟ โดยเฉพาะโน้ตบุ๊ก เชื่อหรือไม่ว่า ความเชื่อที่คุณลดความสว่างหน้าจอลงเพื่อประหยัดแบต กลับทำให้คุณเพ่งหน้าจอมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว
จากภาพด้านบน สังเกตได้ว่า การนั่งนั้นมีผลกับการถ่ายเทน้ำหนัก อันส่งผลให้คุณต้องโน้มตัวหรือก้มคอลง ทำให้การถ่ายเทน้ำหนักผิดวิธี สิ่งที่ตามมาก็คืออาการปวดเมื่อย การนั่งในท่าที่ถูกต้อง จะถ่ายเทน้ำหนักลงที่เก้าอี้ และขาที่วางเสมอกับพื้น แต่ถ้านั่งผิดวิธี น้ำหนักจะถ่ายเทจากคอลงไปที่เก้าอี้และขา ทำให้เราต้องใช้ไหล่และบ่ายึดน้ำหนักตัวเราไว้ ลองดูเส้นสีแดงที่แสดงการถ่ายน้ำหนักที่ถูกต้อง
สำรวจพฤติกรรมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนั่งใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและการวางท่าที่ถูกต้องทำให้บุคลิกภาพของคุณดีในระยะยาว
ข้อมูลจาก Fitness for Life,it24hrs.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น